ฝีดาษไก่ (Fowl Pox) ของสัตว์ปีก

ชื่อโรค/แมลง

ฝีดาษไก่ (Fowl Pox)

เชื้อสาเหตุ

พืชอาศัย (Host)

สัตว์ปีก

ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลาย

ช่วงการระบาด / เสี่ยงต่อการเกิดโรค

พาหะของโรค


ระยะการเจริญเติบโต

-

ลักษณะอาการของโรค/การเข้าทำลาย

ลักษณะของโรค เป็นโรคติดต่อเชื้อของไก่และไก่งวงที่แพร่กระจายค่อนข้างช้า มีลักษณะเฉพาะคือการเกิดเม็ดตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง แล้วค่อยๆ หนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ด หรือมีเยื่อหนายึดติดแน่นที่ส่วนตัวของทางเดินอาหารและระบบหายใจ 

อาการ เม็ดตุ่มที่ผิวหนัง พบมากในบริเวณหัวส่วนที่ไม่มีขน มักไม่กระจายทั่วตัว ช่วงแรกๆ จะพบผิวหนังส่วนที่เป็นนูนขึ้นมีสีขาว แล้วจะขยายใหญ่และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หลังจากนั้นจะค่อยๆหนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ดสีดำ อาจพบวิการหลายระยะพร้อมๆกัน วิการที่พบบริเวณจมูกอาจทำให้น้ำมูกไหล วิการที่พบบริเวณหนังตา อาจทำให้ตาปิด น้ำตาไหล มีขี้ตาข้น และบางครั้งถึงกับตาบอด ในปากก็มักจะพบวิการด้วยเช่นเดียวกับในกล่องเสียงและหลอดลม (มักเรียกว่าฝีดาษเปียก) โดยจะมีเยื่อเหนี่ยว เป็นแผ่นติดแน่นกับผนังด้านในของปากและกล่องเสียง ส่วนในหลอดลมมักจะแผ่กระจายและเปลี่ยนเป็นเยื่อหนาสีเข้ม แต่ไม่ยึดติดกับผนังหลอมดลม การเกิดโรคฝีดาษที่ผิวหนัง หรือฝีดาษแห้ง มักไม่ทำให้ไก่ถึงตาย แต่ฝีดาษในหลอดลมหรือหลอดอาหารมักทำให้ไก่ตายเนื่องจากหายใจไม่ออกหนือกินอาหารไม่ได้

การป้องกันและกำจัด

การรักษา ในไก่ที่เป็นฝีดาษเปียก และทำให้หายใจไม่สะดวกอาจช่วยโดยการดึงเยื่อที่ติดอยู่ออก แล้วป้ายทิงเจอร์ไอโอดีนตรงบริเวณที่เป็น
การควบคุมและป้องกันโรค ในท้องที่ที่มีโรคฝีดาษระบาดอยู่ทั่วไป ควรทำวัคซีนให้กับไก่ตั้งแต่แรกเกิดและอาจให้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ 12 – 20 สัปดาห์

ผู้เชี่ยวชาญ
นายสุคีพ ไชยมณี

เอกสารอ้างอิง

คู่มือโรคและการป้องกันรักษาโรคในสัตว์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

พื้นที่เกิดโรค
แมลงศัตรูธรรมชาติ
พื้นที่ดำเนินงานของสถาบันที่เคยเกิดโรค