โรคอหิวาต์สุกร (Swine fever) ของสุกร

ชื่อโรค/แมลง

โรคอหิวาต์สุกร (Swine fever)

เชื้อสาเหตุ

พืชอาศัย (Host)

สุกร

ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลาย

ช่วงการระบาด / เสี่ยงต่อการเกิดโรค

พาหะของโรค


ระยะการเจริญเติบโต

-

ลักษณะอาการของโรค/การเข้าทำลาย

ลักษณะอาการของโรค หลังจากได้รับเชื้อไวรัสประมาณ 2 – 6 วัน จะเริ่มซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง (105 – 108 องศาฟาเรนไฮต์ ) มีขึ้ตาแฉะทำให้หนังตาปิด ระยะแรกมีอาการท้องผูก ต่อมาเปลี่ยนเป็นท้องเสียและอาจอาเจียนในบางราย สุกรนอนสุมกันตามมุมคอก มีอาการทางประสาท เช่น เดินโงนเงน เดินหมุนเป็นวงกลม หรือขาเป็นอัมพาต ตามผิวหนังพบจุดเลือดออก หรือจ้ำเลือดออกโดยเฉพาะบริเวณใบหู ปลายจมูก ใต้ท้อง สุกรส่วนใหญ่จะตายภายใน 5 – 15 วัน หลังเริ่มแสดงอาการ

การป้องกันและกำจัด

วิธีการป้องกันและกำจัด  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีนแก่สุกรเป็นประจำ
พ่อสุกร : ฉีดทุก 6 เดือน พ่อสุกรทดแทนต้องได้รับวัคซีน 1 ครั้งก่อนใช้งาน
แม่สุกร : ฉีดทุกครั้งก่อนหย่านม 1 สัปดาห์ สุกรสาวทดแทนต้องได้รับวัคซีน 1 ครั้งก่อนใช้งาน
ลูกสุกร : ฉีดเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ 
การรักษา โดยตรงไม่มี การฉีดวัคซีนให้แก่สุกรทุกตัวทันทีที่เกิดการระบาดของโรค อาจช่วยลดความสูญเสียได้บ้าง

ผู้เชี่ยวชาญ
นายสุคีพ ไชยมณี

เอกสารอ้างอิง

คู่มือโรคและการป้องกันรักษาโรคในสัตว์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

พื้นที่เกิดโรค
แมลงศัตรูธรรมชาติ
พื้นที่ดำเนินงานของสถาบันที่เคยเกิดโรค